การจัดการความรู้ชุมชน

การให้ความรู้แก่คณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ชุมชน


ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านนาบัว

ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านนาบัว ตั้งอยู่ ณ บ้านนาบัว หมู่ที่ 4 ตำบลนาบัว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนหมู่บ้าน และเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนด้านเศรษฐกิจพอเพียง

วิธีการก่อเกิด/ ความเป็นมา
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านนาบัว เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนในเรื่องขององค์ความรู้และสภาประชาชน มีสมาชิกของกลุ่มแม่บ้านและอาสาพัฒนาชุมชนในตำบลนาบัวเป็นแกนหลักการทำงานของศูนย์เรียนรู้ชุมชน คณะกรรมการมาจากตัวแทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วย ,สมาชิก อบต., อสม.,กลุ่มแม่บ้าน ,กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่น และ ข้าราชการในตำบลเป็นสมาชิกและกรรมการดำเนินงาน โดยมีการกำหนดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนขึ้น เพื่อเป็นการสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เป็นเวทีของชาวบ้าน โดยชาวบ้าน เพื่อชาวบ้าน เพื่อปรับเข้ากับแผนพัฒนาในส่วนที่ตนเองต้องรับผิดชอบ จึงเป็นการก่อเกิดการพัฒนาชุมชนในหลายรูปแบบและกระบวนการ เกิดการเรียนรู้ในหมู่บ้านและตำบลมีความเชื่อมโยงระหว่างชุมชนสู่ชุมชน คนในแต่ละกลุ่มได้แลกเปลี่ยน พูดคุย มีความเสมอภาค การปฏิสัมพันธ์กันในหมู่บ้านและต่างหมู่บ้าน ความเอื้ออาทร ความสมานฉันท์ ก่อเกิดเป็นทีมงาน ซึ่งได้ส่งผลให้เห็นในกิจกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นในชุมชนจนถึงปัจจุบัน ทำให้มีการพัฒนาตนเองและ มีกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาโดยชุมชนเอง มีพี่เลี้ยงเป็นภาครัฐที่มีบทบาท แนะนำ ช่วยงานธุรการ การติดต่อประสานงาน หรืองานวิชาการที่ตนเองไม่ถนัด องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณก่อสร้างศูนย์เรียนรู้ชุมชนให้ ซึ่งชาวบ้านสามารถใช้ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการประสานงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพบปะและค้นคว้าข้อมูลได้

วัตถุประสงค์การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน
1.เพื่อให้มีศูนย์กลางการเรียนรู้ร่วมกันภายในชุมชนทั้งในระดับหมู่บ้าน ตำบลและ มีจุดการเรียนรู้ในระดับหมู่บ้านหลากหลายสาขาองค์ความรู้
2.เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการจัดการความรู้เชิงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีในชุมชนและสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสะดวกเพราะส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ
3.เพื่อให้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ด้านต่างๆ ที่จะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี
4.การให้โอกาสชุมชนเองมาเป็นผู้จัด ผู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันและร่วมกันจุดกระแสการเรียนรู้เพื่อความเป็นคนไท ให้คงอยู่
โครงสร้างศูนย์เรียนรู้ชุมชนตำบลนาบัว
• นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว เป็นประธานกรรมการ
• กำนันตำบลนาบัว เป็นรองประธานกรรมการ
• ประธานชมรมคนรักษ์ถิ่นตำบลนาบัว เป็นรองประธานกรรมการ

คณะกรรมการประกอบด้วย
• ผู้ใหญ่บ้าน
• ประธานกลุ่มแม่บ้านนาบัว
• ประธานกลุ่มเยาวชน
• ประธานเครือข่ายยาเสพติด
• ประธาน อสม.ตำบลนาบัว
• ปราชญ์ชุมชน หมู่ละ 1 คน
• ประธานกลุ่มผู้สูงอายุ
• ประธานอาสาพัฒนาชุมชน เป็น เลขาฯ
ระดับหมู่บ้าน
• ผู้ใหญ่บ้าน เป็นประธานกรรมการ
• ตัวแทนปราชญ์ชุมชน เป็นรองประธานกรรมการ
• ประธานกลุ่มแม่บ้านนาบัว
• ประธานกลุ่มเยาวชน
• ประธานเครือข่ายยาเสพติด
• ประธาน อสม.
การบริหารจัดการ
โครงสร้างบริหารศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านนาบัว มาจาก
ผู้นำที่เป็นทางการ ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน, อบต.
ผู้นำกึ่งทางการ ได้แก่ ตัวแทนกลุ่ม/องค์กรต่าง ๆ
ผู้นำตามธรรมชาติ/ปราชญ์ชาวบ้าน ได้แก่ ตัวแทน องค์ความรู้

การแบ่งโครงสร้างบริหารศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านนาบัว
1. คณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ชุมชน จำนวน 15 คน
2.สภาผู้นำหมู่บ้าน จำนวน 30 คน
3.ที่ปรึกษาศูนย์เรียนรู้ชุมชน จำนวน 5 คน

รายชื่อคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านนาบัว มีดังนี้
1.นางทองคำ ป้อมี ประธาน
2.นายสวัสดิ์ ทองปอด รองประธาน
3.นายบุญแผน คลังตอง รองประธาน
4.นางกัน มะลิ เลขานุการ
5.นายสมหมาย จันทร์เครือยิ้ม ผู้ช่วยเลขานุการ
6.นางคำไคล คงศรีไพร เหรัญญิก
7.นางบัวเลื่อน มาทับ ผู้ช่วยเหรัญญิก
8.นายเสวียน แก้วกองทรัพย์ ประชาสัมพันธ์
9.นายสมบูรณ์ อุปราบุญ ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์
10. นางระเวียง วันบุญ ปฎิคม
11. นางสังเวียน จันดี ผู้ช่วยปฎิคม
12. นายอุทัย คาราวะสมบัติ กรรมการ
13. นายจำนอง คงสีไพร กรรมการ
14. นายสุพรรณ คิดอ่าน กรรมการ
15. นางวิชุดา เกตุยอด กรรมการ

แนวทางการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ชุมชน
1.จัดให้เป็นศูนย์ข้อมูลชุมชน เรื่อง จปฐ. ,กชช 2 ค บัญชีครัวเรือน
และข้อมูลในการจัดทำแผนชุมชน
2.จัดให้เป็นที่รวบรวมความรู้เรื่องเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชน ดังนี้
– ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่า
– รวบรวมองค์ความรู้ของชุมชนที่ผ่านการรวบรวมสังเคราะห์และจัดทำเอกสารไว้ศึกษา
หรือเรียนรู้
– เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลของชุมชน และของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นของเกษตร, พัฒนาชุมชน,สาธารณสุข,การศึกษาและหน่วยงานอื่นๆและคนในชุมชนควรรู้เพื่อ นำไปสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง และเกิดความรักถิ่นโดยผ่านกระบวนการจัดการเป็นประโยชน์ต่อประชาชน
1.เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับคนในหมู่บ้านและตำบล
2.เป็นจุดถ่ายทอดความรู้และเชิดชูภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างศักยภาพให้กับคนในชุมชน
3.เป็นที่รวบรวมภูมิปัญญาและองค์ความรู้ในหมู่บ้านและตำบล
4.คนในหมู่บ้านและตำบลได้เรียนรู้การพัฒนาตนเองจากสิ่งที่เป็นทุนทางสังคมและองค์ความรู้ที่มี ทำให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกด้าน มีรายได้เพิ่ม มีวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน
5.ประชาชนมีการเรียนรู้จากสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน
6.มีครอบครัวพัฒนาอยู่ในทุกหมู่บ้าน
7.ประชาชนเรียนรู้เรื่องการลดรายจ่ายในครัวเรือน การทำให้มีรายได้เพิ่มและการทำให้มีเงินเหลือออมไว้ใช้เมื่อจำเป็น
8.ประชาชนเรียนรู้ในการหาแนวทางที่เหมาะสมกับตนเองและสอดคล้องกับวิถีชีวิตในการที่จะแก้ไขความยากจนให้กับครอบครัว ด้วยตนเองไม่รอให้คนอื่นมาช่วยเหลือ
9.คนในหมู่บ้านและตำบลนาบัวมีความภาคภูมิใจในหมู่บ้านและตำบลจากการค้นหาองค์ความรู้ที่มีและจัดเป็นศูนย์เรียนรู้ทำให้เกิดจิตสำนึกการรักษ์ท้องถิ่น
10.เป็นที่พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความเห็น ความรู้ ซึ่งกันและกัน
การพัฒนาพื้นที่และสถานที่ มีสถานที่เป็นศูนย์กลางการบริหารศูนย์เรียนรู้ เดิมเป็นอาคารเอนกประสงค์ ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว การปรับปรุงสถานที่ได้รับการสนับสนุนงบฯจากกรมการพัฒนาชุมชน เป็นสถานที่เพื่อใช้ในการประชุม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เป็นเอกเทศ จัดแสดงแผนผัง/โครงสร้างการบบริหาร สามารถให้บริการข้อมูลข่าวสาร ความรู้ แก่ผู้สนใจ มีการจัดทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4 ฐานการเรียนรู้ กิจกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง 6×2

เป็นแหล่งรวมให้บริการกองทุนชุมชน ดังนี้
1. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
2. ธนาคารหมู่บ้าน
3. กองทุนหมู่บ้าน

กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมอาชีพ
1. การทำน้ำเสาวรส
2. การทำน้ำข้าวกล้อง
3. ส่งเสริมการทอผ้า
4. การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
5.ให้บริการบ้านพัก (โฮมสเตย์) แก่นักท่องเที่ยว

กิจกรรมการให้ความรู้ด้านสุขภาพ/สังคม
1.ส่งเสริมให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ
2.ส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้แก่ผู้สูงอายุ
3.ห้องสมุดประชาชน

รูปแบบและวิธีการดำเนินงานของแหล่งเรียนรู้บ้านนาบัว
รูปแบบ แหล่งเรียนรู้บ้านนาบัว เป็นแหล่งเรียนรู้ด้าน “เศรษฐกิจพอเพียง” โดยชุมชนได้ร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามบันได 6 ขั้น และคนในชุมชนเกิดการเรียนรู้ ให้การยอมรับ นำไปปฏิบัติ ประกอบด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์ท้องอิ่ม สนับสนุนให้คนในหมู่บ้านใช้แนวคิด 6×2 ของกรมการพัฒนาชุมชน เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต (ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ การประหยัด การเรียนรู้ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการเอื้ออารีต่อกัน)

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์นอนอุ่น จัดเวรยามรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน ตั้งแต่ เวลา 22.00 – 03.00 น.เพื่อให้คนในหมู่บ้านนอนหลับอย่างอุ่นใจ ไม่มีการลักเล็กขโมยน้อย

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์มีทุน ส่งเสริมให้ชาวบ้านเกิดการออม เพื่อมีทุนไว้ใช้ในการประกอบอาชีพ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์ไม่มีหนี้ ส่งเสริมให้ชาวบ้านไม่มีหนี้นอกระบบ หากเดือดร้อนก็มีเงินกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนหมู่บ้าน ธนาคารหมู่บ้าน ไว้ช่วยเหลือยามขัดสน

ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์กองทุนสุขภาพดี สนับสนุนให้คนในชุมชนรู้จักการออกกำลังกายเป็นประจำ สม่ำเสมอ เน้นการป้องกันเพื่อให้คนมีสุขภาพดี ดีกว่าการรักษาในภายหลัง

ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยุทธศาสตร์ปลอดอบายมุข รณรงค์งดเหล้าในงานศพ และงานบุญต่าง ๆ ให้ทุกคนในชุมชนยอมรับในกฎ กติกาของหมู่บ้าน

วิธีการดำเนินงาน
1.ใช้กระบวนการคิดร่วมกันของชุมชน คนในชุมชนได้เรียนรู้ปัญหาร่วมกัน ร่วมกันค้นหา
สาเหตุ วิธีการและแนวทางแก้ไข ร่วมกำหนด กฎ กติกา โดยเฉพาะวิธีการดำเนินชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน สู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
2. “เวทีประชมคม” เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการในชุมชน ประชาชนทุกคน
มีส่วนร่วมในการเสนอปัญหา/แนวทางการแก้ไขปัญหา และเรื่องอื่น ๆ ของชุมชน
3.ผู้นำชุมชนหลายคนมีความเข้มแข็ง เนื่องจากกระบวนการก่อเกิด และรูปแบบวิธีการ
ดำเนินงานมีการพัฒนา และดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ภายใต้การมีส่วนร่วมของผู้นำ และประชาชนในทุกขั้นตอน บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ทำให้มีพลัง มีความแน่นแฟ้น เกิดความเอื้ออาทรต่อกัน
4.ใช้แผนชุมชนเป็นกลไกสำคัญ เพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ตรงตามความต้องการ

ผลสำเร็จของศูนย์เรียนรู้

J เกิดการเรียนรู้ของคนในชุมชน มีความรู้ เท่าทันสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกชุมชน
J เกิดการจัดการความรู้ของคนในชุมชนอย่างเป็นระบบในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การเรียนรู้ การสืบทอด แลถ่ายอดองค์ความรู้ การรวบรวมและจัดเก็บองค์ความรู้ของชุมชน
J มีข้อมูลผู้รู้/ปราชญ์ชาวบ้าน
J ขยายผลให้มีศูนย์เรียนรู้ โดยมีจุดเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ในหมู่บ้านครบทุกหมู่บ้าน เกิดเครือข่ายในการเรียนรู้
J คนในชุมชนมีความเอื้ออารี เอื้ออาทรต่อกันและกัน และมีสุขภาพจิต สุขภาพกายดีขึ้น
จุดแข็งของศูนย์เรียนรู้
1.เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนในระดับหมู่บ้าน เพราะสามารถบริหารจัดการในเรื่องแหล่งเรียนรู้ได้หลากหลาย กระจายอยู่ทั้งตำบล มีผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน และแกนนำที่มีความพร้อมในการเป็นวิทยากรหลาย ๆ ด้าน
2.มีศักยภาพในการต้อนรับผู้สนใจเข้าไปศึกษาดูงานได้ครั้งละจำนวนมาก มีการแบ่งทีมกันรับผิดชอบ
3.ผู้นำชุมชนมีวิสัยทัศน์ และประสบการณ์ในการทำงานหลากหลายระดับ
4.มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ
5.มีกองทนในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆในชุมชน เป็นเงินสวัสดิการชุมชน
6.ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและบริหารจัดการสูง
7.มีองค์ความรู้/ภูมิปัญญาที่หลากหลาย
8.มีแหล่งเรียนรู้หลากหลาย
9.มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
10. มีกฎ กติกาของชุมชน ที่ทุกคนยอมรับ และยึดถือปฏิบัติมายาวนาน

จุดอ่อนของศูนย์เรียนรู้
1.การจัดทำข้อมูลยังไม่เป็นระบบ
2.การแสดงข้อมูลภายในอาคารยังไม่เป็นระเบียบ
3.ภายในอาคารศูนย์ยังไม่มีการจัดมุม ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างชัดเจน

แผนงานในอนาคต
1.ปรับปรุงข้อมูลศูนย์เรียนรู้ใหม่ ให้ทันสมัย
2.ปรับปรุงแหล่งเรียนรู้เก่าให้มีคุณภาพ เช่นขยายกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ฝึกการเป็นวิทยากรให้มากขึ้น เผยแพร่การดำเนินงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น จัดทำแผ่นพับ ช่องทางเว็บไซต์ และช่องทางการสื่อสารที่มีอยู่ในและนอกชุมชน

ข้อความนี้ถูกเขียนใน การจัดการความรู้ของชุมชน, ศูนย์เรียนรู้ชุมชน คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น